5 เคล็ดลับ เตรียมป้องกัน "ผิวแตก" ในฤดูหนาว

บทความสุขภาพ

31 ต.ค. 2566
ครั้ง

5 เคล็ดลับ เตรียมป้องกัน "ผิวแตก" ในฤดูหนาว

      เมื่อย่างเข้าสู่ปลายปี อาจทำให้หลาย ๆ คน รู้สึกสดชื่นไปกับอากาศเย็นสบายเพราะลมหนาวที่พัดผ่านเข้ามา แต่การที่อุณหภูมิลดลงในช่วงหน้าหนาวนั้น ก็ส่งผลทำให้ความชุ่มชื้นที่มีอยู่ในผิวของทุกคนลดลงด้วยเช่นกัน ซึ่งถือเป็นสาเหตุสำคัญเลยก็ว่าได้ที่ทำให้ผิวแห้งกร้าน ผิวแตก ผิวลอกเป็นขุย และมีอาการคันยิบ ๆ วันนี้เรามี 5 เคล็ดลับ เตรียมป้องกันผิวแตก ในฤดูหนาว

  •  ไม่อาบน้ำอุ่นเกินไป : การอาบน้ำหลายครั้งต่อวันและใช้น้ำที่มีอุณหภูมิอุ่นจัด เป็นอีกทางทำร้ายผิวที่หลายคนไม่รู้ตัว เพราะนำไปสู่อาการผิวแห้ง ขาดความชุ่มชื้น แนวทางที่เหมาะสมคือการอาบน้ำในอุณหภูมิห้องหรืออุ่นเพียงเล็กน้อย วันละไม่เกิน 2 ครั้ง และไม่ควรใช้เวลานานกว่า 15 นาที
  • ทามอยส์เจอไรเซอร์ หรือโลชั่นบำรุงผิวแห้งแตก : ผิวที่โดนลมหนาวเป็นเวลานาน ๆ จะแห้งแตกเป็นขุยและมีอาการคันยิบ ๆ  ตามมา ควรบำรุงผิวกายด้วยมอยส์เจอไรเซอร์  ที่อุดมไปด้วยคอลลาเจน หรือสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น น้ำแร่ ดอกลาเวนเดอร์ ดอกคาโมมายล์
ทา.png
  • ทาครีมกันแดดทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน : แม้จะอยู่ในฤดูหนาว แต่แสงแดดและรังสียูวีที่สาดลงมากระทบผิวโดยตรง ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำร้ายผิวของเราได้เช่นเคย การทาครีมกันแดดก่อนออกแดดอย่างน้อย 15-30 นาที จึงเป็นตัวช่วยป้องกันรังสี UV และปัญหาผิวที่เกิดจากแสงแดดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่เนื้อสัมผัสนุ่ม : เน้นสวมเสื้อผ้าที่ให้เนื้อสัมผัสนุ่มสบาย ไม่รัดแน่นจนอึดอัดและก่อให้เกิดการเสียดสีจนระคายเคืองผิว อย่างพวกผ้าคอตตอนและผ้าฝ้าย แต่ถ้าต้องการเพิ่มความอบอุ่นให้ร่างกายด้วยเสื้อผ้าขนสัตว์ หรือสเวตเตอร์ที่ทำจากใยสังเคราะห์ ที่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณผิวหนัง
ทาา.png
  • รับประทานผักและผลไม้ที่มีปริมาณน้ำสูง : การกินผักและผลไม้ที่มีปริมาณน้ำมาก ๆ เช่น แตงกวา มะเขือเทศ แครอต แอปเปิล  ส้ม กีวี แตงโม และแคนตาลูป เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยคืนความชุ่มชื้นให้กับผิวแห้งกร้านได้เป็นอย่างดี
ทาาส.png

       
      ผิวแห้งป้องกันได้ไม่ต้องคัน ด้วยการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนออกไปท้าลมหนาว หากมีผื่นคันร่วมกับอาการผิวแห้ง แนะนำพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อหาแนวทางการรักษาที่ตรงตามอาการได้อย่างถูกต้อง และงดเว้นการแกะ เกา เพราะอาจส่งผลให้ผิวเกิดการระคายเคือง อักเสบ และติดเชื้อแทรกซ้อนจากโรคปลายนิ้วเพิ่มได้

 

ทาาสส.png

ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา

iConsFacebook.png iConsInstagram.png iConsLine.png iConsTwitter.png iConsYouTube.png iConsTikTok.png