6 ความเชื่อเรื่อง "ยา" ที่คนเข้าใจผิด

ข่าวสารโรงพยาบาล

15 ต.ค. 2566
ครั้ง
6 ความเชื่อเรื่อง "ยา" ที่คนเข้าใจผิด

      ยา เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ ที่ช่วยในการรักษา บรรเทา หรือป้องกันโรคและอาการป่วยต่างๆ ทำให้ร่างกายรู้สึกดีขึ้นตามฤทธิ์และสรรพคุณของยา เช่น ช่วยบรรเทาอาการปวด ลดความดันโลหิต รักษาการติดเชื้อ แต่หลายครั้งที่ความเข้าใจผิด ความไม่รู้ รวมถึง #ความเชื่อผิดๆ อาจส่งผลให้การใช้ยาก่อให้เกิดอันตรายได้ วันนี้เรามี 6 ความเชื่อเรื่อง "ยา" ที่คนเข้าใจผิด มากฝากทุกคน

  • กินยาดัก เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย : การกินยาดักไข้ตอนที่ยังไม่มีอาการจึงไม่สามารถช่วยป้องกันการเป็นไข้ได้ อีกทั้งยาทุกชนิดมีผลข้างเคียง และอาจเกิดอันตรายหากกินติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
  • กินยาเกินขนาดจะได้หายเร็ว ๆ : เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง  อาจส่งผลให้ตับทำงานบกพร่อง เสี่ยงต่อภาวะตับอักเสบได้
ยาช.png
  • โรคเดียวกัน แบ่งยากันกินได้ : ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละคนมีโรคประจำตัว พื้นฐานการทำงานของตับ ไต รวมถึงน้ำหนักตัวและปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อชนิดและขนาดของยาที่แตกต่างกัน
  • การกินยากับเครื่องดื่มที่ไม่ใช่น้ำเปล่า : การกินยาให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ควรกินกับน้ำเปล่าที่สะอาด ไม่ควรกินคู่เครื่องดื่มอื่น เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการออกฤทธิ์ของยาได้
ยาาย.png
  • ฉีดยาดีกว่ากินยา :  การกินยาเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า และการฉีดยาไม่ช่วยให้โรคหายเร็ว ยกเว้นในกรณีที่เป็นโรคที่รุนแรง หรือการติดเชื้อรุนแรงที่ต้องอาศัยการรักษาที่รวดเร็ว
  • ยาปฏิชีวนะกับยาแก้อักเสบคือยาชนิดเดียวกัน : หลายคนมักเข้าใจผิดว่ายาปฏิชีวนะกับยาแก้อักเสบคือยาชนิดเดียวกัน  ดังนั้น หากซื้อยากินเองก็มีโอกาสที่จะได้ยาที่ไม่ตรงกับโรค และอาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ได้รับยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น จนเกิดเชื้อดื้อยาในร่างกายในที่สุด 
ยาย.png

      การใช้ยาให้ได้ประโยชน์สูงสุดในการรักษาโรค มีเคล็ดลับง่าย ๆ เพียงใช้ตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกร อ่านฉลากกำกับยา รับประทานยาในปริมาณที่ถูกต้อง ตรงเวลา และไม่หยุดยาเอง หากมีข้อสงสัยหรือไม่เข้าใจ ควรปรึกษาเภสัชกรหรือพบแพทย์ผู้ทำการรักษา

ย่า.png


ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา

iConsFacebook.png iConsInstagram.png iConsLine.png iConsTwitter.png iConsYouTube.png iConsTikTok.png