รู้เท่าทัน “มะเร็งหัวใจ” ที่พบได้ทุกเพศทุกวัย

บทความสุขภาพ

07 ก.พ. 2566
ครั้ง
รู้เท่าทัน “มะเร็งหัวใจ” ที่พบได้ทุกเพศทุกวัย

      มะเร็งหัวใจ เป็นโรคที่พบได้น้อยมาก แต่สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยส่วนใหญ่เป็นมะเร็งที่เกิดจากอวัยวะอื่น ๆ แล้วกระจายมาที่หัวใจ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ และมะเร็งเต้านม ซึ่งสามารถกระจายมาที่หัวใจได้ 

‘มะเร็งหัวใจ’ เกิดจากอะไร ?

      ส่วนที่เกิดจากเซลล์ผนังหลอดเลือด เรียกว่า Angiosarcoma และส่วนที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจ เรียกว่า Rhabdomyosarcoma โดยมะเร็งหัวใจทั้ง 2 กลุ่มไม่ค่อยตอบสนองต่อการฉายแสงและยาเคมีปาบัด จึงต้องใช้วิธีรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อเอามะเร็งออกให้หมด

‘มะเร็งหัวใจ’ มีกี่ชนิด ?

      มะเร็งหัวใจแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

มะเร็งหัวใจปฐมภูมิ ได้แก่

  • Angiosarcoma
  • Rhabdomyosarcoma
  • Fibrosarcoma
  • Malignant schwannoma
  • Mesothelioma

มะเร็งหัวใจทุติยภูมิ ได้แก่

  • มะเร็งปอด
  • มะเร็งเต้านม
  • มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา
  • มะเร่งหลอดอาหาร

สัญญาณเตือน มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ

  • เหนื่อยง่าย หอบ
  • ไอเรื้อรัง มีไข้ต่ำ ๆ
  • หน้าบวม คอบวม หลอดเลือดดำที่คอโป่ง
  • ตับโต ท้องมาน เพราะมีน้ำในช่องท้อง
  • ขาบวมกดแล้วบุ๋มทั้งสองข้าง
การตรวจวินิจฉัย ‘มะเร็งหัวใจ’
  • การตรวจประวัติทางการแพทย์ต่าง ๆ ที่สำคัญ คือประวัติอาการของผู้ป่วย
  • การตรวจสัญญาณชีพ
  • การตรวจฟังเสียงเต้นของหัวใจด้วยหูฟัง
  • การตรวจร่างกาย
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • การตรวจเอคโคหัวใจ
  • การตรวจสืบค้นอื่น ๆ เพิ่มเติมตามดุลยพินิจของแพทย์ซึ่งเป็นการตรวจที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง

      ‘มะเร็งหัวใจ’ สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกให้หมดด้วยการผ่าตัดเปิดหัวใจโดยตรง และรักษาต่อเนื่องด้วยการให้ยาเคมีบำบัดตามชนิดของแต่ละเซลล์มะเร็ง ซึ่งการรักษาร่วม ทั้งผ่าตัด การให้ยา เคมีบำบัด การฉายแสง จะขึ้นกับระยะของโรค ขนาดและชนิดของมะเร็ง อย่างไรก็ตามเมื่อ ร่างกายเกิดความผิดปกติควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

รู้เท่าทัน “มะเร็งหัวใจ” ที่พบได้ทุกเพศทุกวัย.png

ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา

iConsFacebook.png iConsInstagram.png iConsLine.png iConsTwitter.png iConsYouTube.png