ยาฝังคุมกำเนิด? เรื่องที่ควรรู้&ต้องระวัง
บทความสุขภาพ
26 ก.ย. 2565
ครั้ง
ยาฝังคุมกำเนิด? เรื่องที่ควรรู้&ต้องระวัง
#ยาฝังคุมกำเนิด หรือ การฝังยาคุม เป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราว โดยการฝังหลอดบรรจุฮอร์โมนเล็ก ๆ ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร โดยออกฤทธิ์ได้นาน 3-5 ปี ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ตามกำหนดเวลาที่ฝังยา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยยาฝังคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูงมาก โดยมีโอกาสล้มเหลวที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่เกิน 0.05-0.1% นี่คือผลข้างเคียงที่อาจพบ หากคุมกำเนิดด้วยวิธียาฝังคุมกำเนิด
- มีเลือดประจำเดือนมาผิดปกติโดยเฉพาะช่วงแรก แต่ต่อมาประจำเดือนจะค่อยๆ น้อยลงและจะหายไปโดยไม่มีอีกเลยตลอดช่วงที่ฝังยา
- บางรายอาจมีประจำเดือนมาบ่อยและมานานขึ้น (พบได้น้อยมาก)
- ปวดท้องน้อยและปวดประจำเดือนบ้างในช่วง 2-3 เดือนแรก
- ในระยะแรกอาจมีอาการปวดแขนบริเวณที่ฝังแท่งยาคุมกำเนิด
- บริเวณที่ฝังแท่งยาอาจเกิดการอักเสบ หรือมีรอยแผลเป็นได้
- อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า
- มีอาการปวดหรือเจ็บเต้านม
- เวียนศีรษะ
- บางรายอาจมีน้ำหนักตัวเพิ่ม
- เกิดฝ้า สิว
- ช่องคลอดอักเสบและแห้ง
- อาจทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
- หากเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น จะมีโอกาสการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้มากกว่าปกติ
#ข้อควรระวัง เมื่อใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะบางประเภท จะทำให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดลดลง (ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านม โรคตับที่รุนแรง และโรคหลอดเลือดดำอุดตัน)
ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา