ร้อนใน ปัญหากวนใจที่รักษาเองได้ง่าย ๆ

บทความสุขภาพ

31 ม.ค. 2566
ครั้ง

ร้อนใน ปัญหากวนใจที่รักษาเองได้ง่าย ๆ
      อาการร้อนในเป็นอาการที่ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิด โดยแพทย์ได้สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากพันธุกรรม หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่เพิ่มความเสี่ยงหรือโอกาสเกิดอาการร้อนใน เช่น ฮอร์โมน หรือเชื้อไวรัส ถึงแม้ว่าอาการดังกล่าวจะสามารถหายไปได้เองภายใน 2 สัปดาห์ แต่ระหว่างนั้นหากเกิดภาวะลุกลาม หรืออาการไม่ดีขึ้นให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป

ร้อนในคืออะไร?

      โรคที่เกิดขึ้นที่เนื้อเยื่อบุผิวช่องปาก อาจเกิดเพียงหนึ่งหรือหลายแห่ง ทำให้เกิดความเจ็บปวดมาก โดยจะเกิดเป็นจุดแดงหรือตุ่ม ต่อมาจะพัฒนาแยกออกมาเป็นแผลเปิด มีลักษณะเป็นสีขาว รูปวงรี โดยมีขอบเป็นสีแดงนูนออกมา โดยระยะเวลาของอาการอาจเกิดได้ตั้งแต่ 1 ถึง 2 สัปดาห์  มักพบที่ริมฝีปาก ลิ้น กระพุ้งแก้ม และเหงือก

อาการร้อนในเป็นอย่างไร?

      อาการแผลร้อนในจะเป็นแผลบวมแดงและเจ็บขึ้นในช่องปาก เช่น บริเวณแก้ม ลิ้นหรือด้านในริมฝีปากเป็นแผลสีแหลืองหรือขาวเป็นวงกลมหรือรี บวมแดงและมีอาการเจ็บที่แผล บางรายอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ต่อมน้ำเหลืองบวม เป็นไข้ หรือรู้สึกไม่สบาย

ร้อนในเกิดจากอะไร?

      ในปัจจุบันยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ว่าร้อนในเกิดจากสาเหตุใด โดยเบื้องต้นอาจเกิดจากปัจจัยต่าง  ๆ

  • พันธุกรรม
  • การกัดโดนเนื้อเยื่อในช่องปาก
  • เชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
  • การแพ้อาหาร การขาดสารอาหารหรือวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินบี เหล็กและสังกะสี
  • ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง
  • มีความเครียด กังวล
  • การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ

ร้อนในป้องกันอย่างไร?

      อาการดังกล่าวนี้ไม่สามารถป้องกันได้อย่างสมบูรณ์ แต่สามารถลดความเสี่ยงให้เกิดได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • รับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดที่ทำให้เกิดการระคายเคือง หมั่นทานผักและผลไม้เพื่อเพิ่มวิตามินที่จำเป็นให้แก่ร่างกาย
  • ดูแลสุขอนามัยภายในช่องปากด้วยการแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดแผลภายในช่องปาก โดยเฉพาะผู้ที่จัดฟัน

การรักษาแผลร้อนในในปาก ที่สามารถทำเองได้ที่บ้านง่าย ๆ

  • ใช้น้ำผสมเกลือเพื่อกลั้วปากเช้าและเย็น
  • ดื่มน้ำปริมาณมากระหว่างวัน
2 (45).png
  • ทายาในบริเวณที่เป็นแผล เช่น Triamcinolone
  • ใช้แผ่นแปะแก้ร้อนใน ช่วยให้แผลการสัมผัสน้ำลาย ฟัน หรืออาหารน้อยลง

3 (44).png

  • งดอาหารรสเผ็ดหรือเปรี้ยวไปก่อน รอให้แผลหายดีจึงจะทานได้
  • พยายามฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังอย่างพอเหมาะสม

4 (36).png

      แผลร้อนในถึงแม้ว่าจะหายได้เองเสียเป็นส่วนมาก แต่อาการที่เกิดขึ้นสามารถเกิดได้บ่อย ๆ สร้างความรำคาญ และความลำบากในการใช้ชีวิตได้ ดังนั้นเราจึงควรรักษาสุขอนามัยของช่องปาก และเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมเพื่อลดโอกาสเกิดโรคนี้ให้มากที่สุดIG (10).png

      สนใจรับบริการตรวจสุขภาพช่องปาก คลิก! https://www.chiangmai-hospital.com/th/our-services/special-dental-department

ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา

iConsFacebook.png iConsInstagram.png iConsLine.png iConsTwitter.png iConsYouTube.png iConsTikTok.png