"บริจาคเลือด" นำไปช่วยคนอย่างไรได้บ้าง?

บทความสุขภาพ

11 มิ.ย. 2566
ครั้ง
"บริจาคเลือด" นำไปช่วยคนอย่างไรได้บ้าง?

บริจาคเลือด เป็นวิธีการช่วยชีวิตผู้อื่นที่ดีที่สุดที่คนทั่วไปสามารถทำได้ เลือดและส่วนประกอบของเลือดมีความสำคัญในการรักษาทั้งในผู้ป่วยที่เสียเลือดจากอุบัติเหตุ หรือมีโรคที่ทำให้ไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดได้เอง การบริจาคโลหิตแต่ละครั้ง สามารถปั่นแยกเป็นส่วนประกอบโลหิตได้มากกว่า 3 ส่วน ช่วยชีวิตได้มากกว่า 3 ชีวิต และผลิตเป็นผลิตภัณฑ์โลหิตได้อีกมากมาย เพื่อนำไปรักษาผู้ป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

  • เกล็ดเลือด นำไปรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ โรคไข้เลือดออก มะเร็งเม็ดเลือดขาว

บริจาค5.png
  • เม็ดเลือดแดง นำไปรักษาผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ไขกระดูกฝ่อ ผู้ป่วยที่สูญเสียเลือดจากการ ผ่าตัดหัวใจ อุบัติเหตุ ตกเลือดจากการคลอดบุตร

บริจาค6.png
  • พลาสมา นำไปรักษาผู้ที่มีอาการช็อกจากการขาดน้ำ ผลิตเซรุ่มป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี และเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์โลหิต 3 ชนิด ได้แก่ แฟกเตอร์ 8 (Factor VIII) รักษาโรคฮีโมฟีเลีย เอ อิมมูโนโกลบูลิน (IVIG) รักษาโรคภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง อัลบูมิน (Albumin) รักษาไฟไหม้น้ำร้อนลวกและโรคตับ
บริจาค7.png

      การบริจาคโลหิตไม่ได้เป็นอันตรายต่อผู้บริจาคโดย 1 คนจะบริจาคโลหิต ครั้งละ 350 – 450 ซีซีหรือคิดเป็นร้อยละ 10-12 ของปริมาณโลหิตทั้งหมดในร่างกาย หลังจากการบริจาคแล้ว ไขกระดูกในร่างกายจะทำการสร้างเม็ดเลือดใหม่ขึ้นทดแทนอย่างต่อเนื่อง โดยเม็ดเลือดแดงที่สร้างขึ้นใหม่นั้นจะไหลเวียนในร่างกายยาวนานประมาณ 120 วัน

ที่มา : สภากาชาดไทย

บริจาค8.png

ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา

iConsFacebook.png iConsInstagram.png iConsLine.png iConsTwitter.png iConsYouTube.png iConsTikTok.png