ออฟฟิศซินโดรม ดูแลอย่างไรไม่ให้เรื้อรัง?
บทความสุขภาพ
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) โรคยอดฮิตของพนักงานออฟฟิศยุคใหม่ ที่มักมีพฤติกรรมนั่งติดเก้าอี้และโต๊ะทำงานนานหลายชั่วโมง โดยไม่ได้ลุกเคลื่อนไหว หรือมีช่วงพักเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถระหว่างวัน ทำให้เกิดกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อได้ อาการออฟฟิศซินโดรม เริ่มแรกคือ รู้สึกปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ สะบัก และบริเวณหลัง การนวดอาจจะช่วยให้ดีขึ้นได้ แต่ผ่านไปสักระยะหนึ่งก็จะกลับมาเป็นอีก และเป็นเรื้อรังมากขึ้นหากปล่อยทิ้งไว้ วันนี้เรามีวิธี ดูแลอย่างไรไม่ให้ “ออฟฟิศซินโดรม” เรื้อรัง?
ปรับสภาพแวดล้อม ปรับระดับจอคอมพิวเตอร์ เลือกใช้โต๊ะและเก้าอี้ทำงานให้เหมาะสมกับสรีระร่างกาย
- ปรับสภาพแวดล้อม ปรับระดับจอคอมพิวเตอร์ เลือกใช้โต๊ะและเก้าอี้ทำงานให้เหมาะสมกับสรีระร่างกาย
- ไม่ควรนั่งทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ควรพักอย่างน้อยทุก 30-60 นาที บริหารร่างกายเพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อยึดเกร็ง
- ออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
- หากอาการเป็นเรื้อรัง หรือมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อเข้ารับการตรวจประเมิน รักษา หรือทำกายภาพบำบัด รวมทั้งให้คำแนะนำเรื่องการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี
แม้ว่าอาการออฟฟิศซินโดรม จะเป็นภาวะที่ไม่ได้อันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่ภาวะออฟฟิศซินโดรมสามารถสร้างความรำคาญ และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การแก้ออฟฟิศซินโดรมที่ดีที่สุด คือการไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจร่างกายหาสาเหตุที่แท้จริง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจจะทำให้เกิดภาวะออฟฟิศซินโดรม
ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา