คราบหินปูน อันตรายกว่าที่คิด
บทความสุขภาพ
คราบหินปูน อันตรายกว่าที่คิด
คราบหินปูน ถูกเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “หินน้ำลาย” เกิดจาก
คราบจุลินทรีย์หรือขี้ฟันที่สะสมและจับกับเชื้อโรค จนกระทั่งตกตะกอนกลายเป็นของแข็งเกาะอยู่บนผิวฟัน ซอกเหงือก ซอกฟัน และขอบฟัน โดยปกติคราบจุลินทรีย์เริ่มต้นที่เกาะอยู่บนผิวฟัน จะมีลักษณะนิ่มและสามารถแปรงออกได้ แต่เมื่อใดที่มีแร่ธาตุจากน้ำลายมาผสมด้วย จะกลายเป็นคราบหินปูนที่มีลักษณะเป็นของแข็งไม่สามารถแปรงได้เอง ต้องให้ทันตแพทย์ทำการขูดหินปูนออกไปเท่านั้น
ผลข้างเคียง ของปัญหาคราบหินปูน
เกิดขึ้นเมื่อจุลินทรีย์ปล่อยสารที่เป็นกรดออกมาทำให้เกิดเหงือกอักเสบ และเมื่อปล่อยออกมานานๆ กระดูกที่รองรับรากฟันจะค่อยๆ ละลาย ทำให้ฟันโยกไม่แข็งแรง โดยปัญหาที่เกิดจากคราบหินปูน ได้แก่ เลือดออกขณะแปรงฟัน ฟันเหลือง มีกลิ่นปาก เหงือกร่น โรคปริทันต์ ฟันผุ ฟันโยกฟันห่าง และฟันผุ
ปัญหาคราบหินปูนจึงเป็นปัญหาช่องปากที่ควรได้รับการดูแลจาก ทันตแพทย์ ตามความเหมาะสม สำหรับช่วงอายุที่สามารถเข้ารับการขูดหินปูนได้นั้น ปกติแล้วไม่ได้มีการกำหนดตายตัวอาศัยการตรวจสุขภาพ ถ้าหากถึงเวลาที่ควรได้รับการขูดหินปูนแพทย์จะแนะนำ ส่วนความถี่ที่เหมาะสมในการขูดหินปูน สำหรับคนทั่วไปที่มีอาการเหงือกอักเสบเพียงเล็กน้อยควรขูดหินปูนทุก 6 เดือน แต่ถ้าหากมีอาการของร่องลึกปริทันต์ด้วยควรได้รับการขูดหินปูนทุก 3-4 เดือน
ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา