ขั้นตอนการทำ "ครอบฟัน" ที่คุณควรรู้
บทความสุขภาพ
ขั้นตอนการทำ "ครอบฟัน" ที่คุณควรรู้
การครอบฟัน เป็นการบูรณะฟันที่เกิดความเสียหาย แตกหัก หรือผ่านการรักษารากฟันมาแล้วด้วยการใช้ฟันเทียมติดแน่น เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับตัวฟัน ทำให้ฟันกลับมาสวยงาม และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิม สำหรับคนที่คุณหมอแจ้งว่าต้องทำ “ครอบฟัน” ก็อาจจะมีคำถามในใจว่า ขั้นตอนเป็นอย่างไร? ต้องไปพบทันตแพทย์กี่ครั้ง? วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนแล้ว
- นัดที่ 1 วางแผนการรักษา
- ปรึกษากับทันตแพทย์ผู้ชำนาญการ เพื่อรับทราบปัญหาและความต้องการของคนไข้ ในการทำครอบฟัน
- ทันตแพทย์ ทำการตรวจเอกเรย์ สภาพเหงือกและฟันของคนไข้ เพื่อวางแผนการรักษา แจ้งทางเลือกในการรักษา อธิบายกระบวนการการรักษาตามขั้นตอน
- เมื่อคนไข้ตกลงจำทำครอบฟันตามแผน ทันตแพทย์ทำการกรอฟัน เพื่อรองรับครอบฟันที่สร้างขึ้นใหม่
- ทันตแพทย์ทำการพิมพ์ปาก หรือ scan ฟัน ในการสร้างครอบฟันชั่วคราวให้คนไข้ได้ทดลองใส่ระหว่างรอครอบฟันจริง
- ทันตแพทย์ส่งข้อมูลทันตกรรมของคนไข้ให้กับเจ้าหน้าที่แล็บทันตกรรม เพื่อผลิตชิ้นงาน
- นัดที่ 2 ใส่ครอบฟันจริง (ประมาณ 1 อาทิตย์ หลังจากนัดแรก)
- ทันตแพทย์ประเมินผลการใส่ครอบฟัน ว่ามีความพอดี ครอบฟันมีสี ขนาด รูปร่างตรงตามความต้องการของคนไข้หรือไม่ หากครอบฟันไม่พอดี โดยทันตแพทย์อาจมีการปรับแต่งฟันเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย
- ทันตแพทย์ทำการเช็คการสบฟัน เช็คความเรียบร้อยบริเวณรอยต่อของครอบฟัน เคลือบผิวฟัน และอื่น ๆ
- เมื่อผลลัพธ์ของครอบฟันตรงกับความต้องการของคนไข้แล้ว ทันตแพทย์จะทำการยึดครอบฟันซี่นั้นให้เข้ากับฟันที่กรอไว้ การรักษาเป็นอันเสร็จสมบูรณ์
- นัดที่ 3 ติดตามอาการ และประเมินผลการรักษา
- ทันตแพทย์ทำการนัดหมายคนไข้เพื่อติดตามอาการที่อาจเกิดขึ้นตามมา เช่น การสบฟันที่ยังไม่ดีพอ อาการเสียวฟัน การยึดครอบฟัน และอื่น ๆ รวมทั้งประเมินผลความพึงพอใจหลังการรักษา
ครอบฟันเป็นหนึ่งในทางเลือกสำหรับผู้ที่มีปัญหาฟันผุเกินกว่าจะรับการรักษาด้วยการอุดฟัน ฟันบิ่น ฟันแตก มีข้อดีคือช่วยเสริมความแข็งแรงของฟันซี่นั้นๆ ให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ และมีวัสดุหลายประเภทให้เลือกตามแต่ตำแหน่งที่ต้องการสวม อย่างไรก็ตาม แม้ครอบฟันจะมีความคงทนแข็งแรง แต่ก็เช่นเดียวกับซี่ฟันปกติของเรารวมถึงฟันปลอมประเภทอื่นๆ ที่มีโอกาสเสียหายได้เช่นกัน
Follow Our Social Network