ใช้หลอดดูดร่วมกับ "ผู้ป่วยโรคเอดส์" จะติดเชื้อหรือไม่?

บทความสุขภาพ

24 ส.ค. 2566
ครั้ง

ใช้หลอดดูดร่วมกับ "ผู้ป่วยโรคเอดส์" จะติดเชื้อหรือไม่?

      ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องผู้ป่วยเอชไอวี โรคเอดส์ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการติดต่อ จึงทำให้คนที่เป็นโรคนี้เมื่อมีคนรอบข้างรู้ ก็จะทำให้รู้สึกโดนรังเกียจทั้งที่จริง ๆ แล้ว เขายังสามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่น ๆ ได้ในสังคม

เอชไอวี (HIV) และโรคเอดส์ (AIDS) แตกต่างกันอย่างไร ?
  • HIV คือ เชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกาย เมื่อเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะยึดจับและทำลายเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 เป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หากไม่รับการรักษา ระดับ CD4 ลดต่ำลงเรื่อยๆ จะทำให้ป่วยเป็นเอดส์ได้
  • AIDS คือ คนที่ติดเชื้อ HIV ที่มีระดับเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ต่ำกว่า 200 ระบบภูมิคุ้มกันและเม็ดเลือดขาวถูกทำลายจนไม่สามารถต้านทานโรค ได้ หรือเรียกว่า “ภูมิคุ้มกันบกพร่อง” ร่างกายจึงมีโอกาสติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่าย
สาเหตุหลักของการติดต่อเชื้อ HIV 
  • การร่วมเพศกับผู้ที่มีเชื้อ HIV โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัย ไม่ว่าจะเป็นชายกับหญิงที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยช่องทางธรรมชาติ หรือไม่ธรรมชาติก็ตาม รวมทั้งการร่วมเพศระหว่างชายกับชาย หญิงกับหญิง สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการติดต่อโรคเอดส์ได้ 
  • ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือแม้แต่การใช้กระบอกฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ HIV ซึ่งพบบ่อยในกลุ่มของผู้ที่เสพสารเสพติดด้วยการฉีดยาเข้าเส้น รวมทั้งการใช้เข็มในการเจาะหู และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การสักลงบนผิวหนัง  
  • รับเลือดมาจากการผ่าตัด หรือเพื่อรักษาโรคเลือดบางชนิด แม้ว่าเราจะไม่มีทางรู้เลยว่า เลือดที่รับบริจาคมาจากแหล่งไหน แต่ปัจจุบันได้มีการตรวจสอบเพื่อความปลอดภัย โดยจะนำเลือดที่รับบริจาคมาไปตรวจหาเชื้อ HIV ก่อนเสมอ 
  • การติดต่อผ่านแม่สู่ลูก เกิดจากแม่ที่มีเชื้อ HIV อยู่แล้ว และเกิดการตั้งครรภ์ทำให้มีการถ่ายทอดเชื้อไปสู่ลูก  ปัจจุบันได้ค้นพบวิธีการป้องกันการแพร่เชื้อ HIV จากแม่ไปสู่ลูกได้สำเร็จแล้ว

ปัจจัยที่ทำให้ติดเชื้อ HIV

  • ปริมาณเชื้อที่ได้รับ หากได้รับเชื้อในปริมาณมากก็จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงตามไปด้วย  เชื้อ HIV จะพบมากที่สุดในเลือด รองลงมาคือในน้ำอสุจิ และน้ำหล่อลื่นในช่องคลอด
  • การมีบาดแผล หากมีบาดแผลบริเวณผิวหนังย่อมทำให้มีโอกาสติดเชื้อ HIV สูง เพราะเชื้อ HIV สามารถเข้าสู่บาดแผลได้ง่าย
  • ความถี่ในการสัมผัสเชื้อ หากมีการสัมผัสเชื้อไวรัสบ่อย โอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อก็มีสูงขึ้น เช่น นักวิจัยที่ต้องทำการทดลองเกี่ยวกับเชื้อไวรัส HIV 
  • การติดเชื้อแบบอื่นๆ เช่น แผลเริม ซึ่งแผลชนิดนี้จะมีเม็ดเลือดขาวอยู่ที่บริเวณแผลเป็นจำนวนมาก ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV ได้ง่าย และเชื้อ HIV ก็ยังเข้าสู่บาดแผลได้ง่ายขึ้นด้วย
  • สุขภาพของผู้รับเชื้อ หากคุณเป็นคนที่มีสุขภาพแข็งแรงอยู่แล้ว โอกาสที่จะติดเชื้อก็เป็นไปได้ยาก แต่หากสุขภาพอ่อนแอก็มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายเช่นกัน

      คำถามยอดฮิตเลยคือ การใช้หลอดดูดน้ำ ร่วมกับผู้ป่วย HIV จะติดเอดส์ไหม ทางการแพทย์มีคำตอบว่า โรคนี้ไม่ติดกันทางน้ำลาย เนื่องจากน้ำลายมีสมบัติเป็นเบสอ่อน ไม่เหมาะกับการอาศัยอยู่ของเชื้อ HIV และในน้ำลายมีปริมาณเชื้อ HIV น้อยมาก เพราะในน้ำลาย 1 มิลลิลิตรจะพบเชื้อ HIV แค่ 1 ตัวเท่านั้น แต่หากหลีกเลี่ยงการใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ร่วมกับผู้ป่วยได้ก็จะเป็นการดี

ใช้หลอดดูดร่วมกับผู้ป่วยโรคเอดส์จะติดเชื้อหรือไม่.png

 

ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา

iConsFacebook.png iConsInstagram.png iConsLine.png iConsTwitter.png iConsYouTube.png iConsTikTok.png