ใครเสียวฟันยกมือขึ้น! เคล็ดลับแก้อาการ 'เสียวฟัน'
บทความสุขภาพ
ใครเสียวฟันยกมือขึ้น! เคล็ดลับแก้อาการ 'เสียวฟัน'
อาการเสียวฟัน เป็นอาการปวดฟันลักษณะหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการเสียผิวหน้าฟันหรือชั้นเคลือบฟัน เมื่อฟันเกิดภาวะกร่อนหรือเสียหาย ฟันสึก รากฟันเสียหาย ชั้นเนื้อฟันที่อยู่ด้านในจะมีโอกาสสัมผัสกับสิ่งแวดล้อม หรือมีการอักเสบของเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟัน และเมื่อส่วนของประสาทฟันที่อยู่บริเวณเนื้อฟันไร้การปกป้อง จึงรู้สึกเสียวฟันได้เมื่อมีความร้อน ความเย็นมาสัมผัส วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับอาการเสียวฟันว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร มีสาเหตุมาจากอะไร วิธีการรักษาและวิธีป้องกันเสียวฟันมีอะไรบ้าง
อาการเสียวฟันเกิดจากอะไร?
- ภาวะเหงือกร่นเนื่องจากอายุ หรือการแปรงฟันที่ไม่เหมาะสม
- เครื่องดื่มที่เป็นกรด ที่ก่อให้เกิดการกัดกร่อนเคลือบฟันและ การเผยของเนื้อฟัน
- การบดฟัน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการรู้สึกเสียวแปลบ ทั้งหมดของฟัน
- การแปรงฟันด้วยยาสีฟันด้วยการขัดถูมาก ๆ การแปรงฟันไม่ถูกวิธี หรือ การแปรงฟันมากกว่าสามครั้งต่อวัน อาจทำให้เกิดการสูญเสียของสารเคลือบฟัน
- โรคเหงือก ซึ่งอาจมีผลทำให้เหงือกร่นได้
- ฟันบิ่นหรือหักอาจทำให้เผยให้เห็นเนื้อฟัน
เคล็ดลับแก้อาการเสียวฟัน
- การใช้ยาสีฟันสูตรพิเศษที่จะช่วยลดอาการ เสียวฟัน โดยมีส่วนประกอบของ Strontium chloride และ potassium nitrate
- แปรงฟันให้ถูกวิธี จะช่วยป้องกันการเสียดสีของสารเคลือบฟัน และภาวะเหงือกร่นได้
- ใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม หลีกเลี่ยงการใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงแข็งเกินไป เพราะอาจทำให้คอฟันสึกได้
- หลีกเลี่ยงการเคี้ยวของแข็ง และอาหารรสเปรี้ยว เพราะกรดอาจไปทำลายผิวเคลือบฟัน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ฟันกร่อน หรือฟันผุ
- ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน เพื่อลดคราบพลัค ที่ทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบ ซึ่งจะเป็นที่มาของปัญหาทั้งเหงือกร่น จนไปถึงฟันผุ
- พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อตรวจสอบสุขภาพฟัน และปรึกษาอาการเสียวฟันเพื่อตรวจวินิจฉัยถึงสาเหตุของอาการเสียวฟัน
การหาสาเหตุของอาการเสียวฟันให้พบ อาจใช้สารเคลือบฟลูออไรด์เสริมสร้างสารเคลือบฟันและเนื้อฟันบริเวณให้แข็งแรง นอกจากนี้การใช้วิธีการอุดฟัน ถอนฟัน ครอบฟัน รักษาโรคเหงือก รักษาคลองรากฟัน ก็เป็นวิธีการรักษาตามความลำดับจำเป็นและระดับความรุนแรงและสาเหตุของอาการเสียวฟัน
อาการเสียวฟันเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย เพราะเป็นอาการที่บ่งชี้การสึกของเนื้อฟัน ฟันผุ ฟันร้าว ฟันแตก เหงือกร่น เป็นต้น ควรปรึกษาทันตแพทย์ ในการหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร เเละรักษาเพื่อที่จะได้เกิดผลกระทบที่ต่อสุขภาพเหงือก เเละฟันให้น้อยที่สุด
ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา