‘ฟันคุด' ปล่อยทิ้งไว้ อันตรายไหม

บทความสุขภาพ

26 เม.ย. 2566
ครั้ง

‘ฟันคุด' ปล่อยทิ้งไว้ อันตรายไหม

      ฟันคุด คือ ฟันแท้ที่ไม่สามารถขึ้นมาได้ตามปกติ เป็นฟันที่ฝังตัวอยู่ใต้เนื้อเยื่อของเหงือก และบริเวณกระดูกขากรรไกร ฟันคุดจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หากตัวฟันไม่ได้โผล่พ้นขึ้นมาเหนือเหงือก วันนี้เรามี 6 ข้อที่ต้องระวังหาก ไม่ถอนฟันคุด

ฟันคุด เกิดจากอะไร?

      การเกิดฟันคุดมาจากมีฟัน เนื้อเยื่อ หรือกระดูกปิดขวางการงอกของฟันอยู่ จนทำให้ฟันไม่สามารถเติบโตพ้นเหงือกออกมาได้ แล้วกลายเป็นฟันคุดนั่นเอง ผู้ที่มีฟันคุดอาจมีจำนวนฟันคุดตั้งแต่ 1 ซี่ขึ้นไป และมักไม่รู้ตัวว่ามีฟันคุด จนกว่าฟันคุดจะโผล่ออกมาพ้นเหงือก หรือมีอาการปวดฟันมาก แล้วเมื่อไปพบทันตแพทย์ก็ตรวจพบเจอผ่านการเอกซเรย์

ผลกระทบ จากฟันคุดต่อสุขภาพฟัน

  • อาการปวด : เพราะตัวฟันคุดมีแรงผลักเพื่อจะงอกขึ้นมาในขากรรไกร แต่ถูกกันหรือติดโดยฟันข้างเคียง ทำให้มีแรงย้อนกลับไปกดที่ขากรรไกร
  • การอักเสบของเหงือก : เพราะจะมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือก แล้วไม่สามารถทำความสะอาดได้ เชื้อแบคทีเรียที่มาสะสมอยู่จะทำให้เหงือกอักเสบ
2.png

  • ฟันข้างเคียงผุ : ซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ที่อยู่ติดกัน จะทำความสะอาดได้ยาก ส่งผลให้เศษอาหารจะติดค้างอยู่ทำให้เกิดฟันผุได้
  • การละลายตัวของกระดูก : แรงดันจากฟันคุดที่พยายามดันขึ้นมา จะทำให้กระดูกรอบรากฟัน หรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลายไป
3.png

  • การเกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก : ฟันคุดที่ทิ้งไว้นาน เนื้อเยื่อที่หุ้มรอบฟันคุด อาจจะขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นถุงน้ำ แล้วโตขึ้นโดยไม่แสดงอาการเลย
  • กระดูกขากรรไกรหัก : เนื่องจากการที่มีฟันคุดฝังอยู่ จำทำให้กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นบางกว่าตำแหน่งอื่น เมื่อได้รับอุบัติเหตุ หรือกระทบกระแทก กระดูกบริเวณนั้นก็จะหักได้ง่าย
4.png

การดูแลตัวเอง หลังถอนฟันคุด

  • กินยาแก้ปวด หากมีอาการปวดสามารถกินยาแก้ปวดที่ทันตแพทย์
  • ประคบเย็นลดบวม ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ประคบเย็นหากมีอาการบวมบริเวณแก้ม
  • กินอาหารอ่อน ๆ ควรหลีกเลี่ยงของแข็ง ของเผ็ด และของร้อน จนกว่าแผลจะหายดี
  • ใช้น้ำยาบ้วนปากแทนการแปรงฟัน ในรอบ 24 ชั่วโมงแรก หลังจากนั้นจึงค่อยแปรงฟันอย่าง
  • หลีกเลี่ยงการบ้วนปากมากเกินไป  ซึ่งอาจทำให้ลิ่มเลือดหลุดออกจากแผลได้  
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมหนัก ๆ อย่างน้อย 1 สัปดาห์ โดยเฉพาะวันแรกหลังการถอนฟันคุดเพราะอาจทำให้ลิ่มเลือดหลุดได้ 
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน รวมถึงเครื่องดื่มร้อนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง เพราะอาจทำให้ลิ่มเลือดหลุดออกได้
  • งดสูบบุหรี่ อย่างน้อย 72 ชั่วโมง เพราะอาจทำให้แผลหายช้า และเพิ่มโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนได้

จะรู้ได้อย่างไรว่าต้องถอนฟันคุด หรือผ่าฟันคุด?

  • การถอนฟันคุด หรือผ่าฟันคุด จะขึ้นอยู่กับการประเมินของทันตแพทย์ โดยหากทันตแพทย์ประเมินว่าฟันคุดโผล่ออกมามากพอที่เครื่องมือถอนฟันจะเอาฟันคุดออกได้ ก็จะให้ทำการถอนฟันคุด 
  • กรณีที่ต้องผ่าฟันคุดเกิดจากฟันคุดอยู่ลึกลงไปใต้เนื้อเยื่อของเหงือก หรือฟันงอกขึ้นมาบางส่วนแต่มีลักษณะนอน ไม่ตั้งตรง ไม่สามารถดึงขึ้นมาได้ กรณีนี้ทันตแพทย์มักใช้วิธีผ่าเหงือก และอาจมีการตัดผ่าแบ่งฟันออกเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วค่อยคีบนำฟันออกมาจากเบ้าฟัน
      ฟันคุดหรือฟันกรามซี่สุดท้าย จำเป็นต้องมีการถอน หรือผ่าออก โดยทันตแพทย์เฉพาะทางศัลยกรรมช่องปาก เพราะว่าอยู่ในลักษณะที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติ หรือไม่ได้อยู่ในแนวที่เดียวกับฟัน ส่วนมากฟันคุดจะเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย หรือช่วงอายุยี่สิบต้น ๆ หากปล่อยฟันคุดไว้จะมีความเสี่ยงต่อภาวะต่าง ๆ
1.png

ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา

iConsFacebook.png iConsInstagram.png iConsLine.png iConsTwitter.png iConsYouTube.png iConsTikTok.png